อบรมหลักสูตร การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
PREVENTIVE MAINTENANCE & PREDICTIVE MAINTENANCE
รายละเอียดหลักสูตรอบรม Course Outline
ความสำคัญการอบรม
ปัจจุบันการแข่งขันด้านการผลิตที่มีความรุนแรง ทำให้บริษัทใดที่ทำให้เครื่องจักรมีการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ย่อมก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากกว่าคู่แข่ง และยังเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต เป็นการใช้เวลาในการผลิตได้อย่างคุ้มค่า จากการที่เครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหากเครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุม เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องจักรขัดข้อง หรือหยุดโดยการใช้ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อให้เครื่องจักรมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) คือ “กิจกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจากกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันปัญหาในการบำรุงรักษาโดยการพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการเกิดความล้มเหลว” นั่นหมายความว่าองค์กรต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่นำมาใช้พยากรณ์ว่าเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ในกระบวนการ น่าจะเกิดความล้มเหลว หรือมีอะไรน่าจะเสียได้บ้าง
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษาผลผลิตของบริษัท และเน้นการวางแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน PM (Preventive Maintenance) และ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่ต่ำและคุ้มค่า โดยในระหว่างการอบรมจะมีแบบฝึกหัด ตัวอย่าง และการระดมสมองของผู้เข้าร่วมการอบรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงหลังการอบรม
วัตถุประสงค์การอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการซ่อมบำรุง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักร
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดในการลดความสูญเสียของเครื่องจักรในระบบการผลิต
5. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ อย่างเป็นระบบ
6. เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาเชิงทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
7. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเครื่องจักร อย่างเป็นมีรูปแบบ
8. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
9. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
หัวข้อการอบรม
1. แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
2. การมองปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา
3. บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายผลิตในสายงานซ่อมบำรุง
4. ความสูญเสียหลักทั้ง 6 ประการของเครื่องจักร
5. รู้จักกับการบำรุงรักษาแบบต่างๆ
– การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
– การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)
– การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
– การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)
– การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)
6. การวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรด้วย OEE , MTBF , MTTR
7. ขั้นตอนการวางระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Productive Maintenance (PM)
8. การทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Productive Maintenance (PM) ที่ประสบผลสำเร็จ
9. กลยุทธ์ในการดำเนินการ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Predictive Maintenance
– การวิเคราะห์เครื่องจักรเพื่อการกำหนดลักษณะการบำรุงรักษา
– การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยคลื่นเสียง
– การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยความสั่นสะเทือน
– การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยภาพถ่าย
– การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยสารหล่อลื่นที่ใช้แล้ว
– การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
ผู้ที่เหมาะสมเข้าร่วมอบรม
– ช่างเทคนิค , พนังงานผลิต , วิศวกร ,หัวหน้างาน , และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบการอบรม
1. บรรยาย ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา ให้มีประสบการณ์เพิ่มจากตัวอย่างจริง
2. กิจกรรม ระดมสมอง / แลกเปลี่ยนความคิด
3. Workshop ฝึกปฏิบัติให้นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติจริง
4. สรุปประเด็นเชื่อมโยงสู่งานที่ทำ