อบรม หลักสูตร “การปรับปรุงและควบคุมคุณภาพการผลิตเชิงพยากรณ์” Quality Improvement by Predictive Operation
ความสำคัญ
คุณภาพของสินค้าหรือบริการคือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด การสร้างคนให้เข้าใจในการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพหรือที่เรียกว่ามี จิตสำนึกคุณภาพในการทำงาน เพราะถ้าเรามีพนักงานที่มีจิตสำนึกในการที่จะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ คิดถึงแต่การทำงานให้มีคุณภาพ มีความระมัดระวัง มีการตรวจสอบ มีการสังเกต และมีการแจ้งเตือนเมื่อพบสิ่งผิดปกติให้แก่หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานได้ เพื่อป้องกันปัญหาด้านคุณภาพที่อาจจะเกิดขึ้น “การปรับปรุงและควบคุมคุณภาพการผลิตเชิงพยากรณ์” จึงไม่ใช่สิ่งที่รอได้อีกต่อไป และเมื่อพนักงานมีการควบคุมคุณภาพในการทำงานที่ดีเกิดขึ้นแล้ว องค์กรยังจะสามารถพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อีกด้วย
หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพในการทำงานผ่านการใช้เทคนิคเชิงพยากรณ์ ทำให้พนักงานฝ่ายผลิตจะสามารถปรับปรุงคุณภาพการผลิต และมีความสม่ำเสมอในเรื่องของการสื่อสาร แก้ไข และส่งต่อให้กับเพื่อนร่วมงาน พนักงานหรือหน่วยงานข้างเคียงให้ทราบถึงปัญหาที่พบ เช่น การพยากรณ์ด้วยอุปกรณ์การวัด การพยากรณ์ด้วยกราฟทางสถิติอย่างง่าย การพยากรณ์ด้วยหลักการสังเกต การพยากรณ์ด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ และการพยากรณ์ด้วยประสบการณ์ผ่านการระดมสมอง เพื่อจะได้ช่วยกันปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหาคุณภาพกับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วัตถุประสงค์การอบรม
1. เพื่อสร้างแนวคิดในการสร้างคุณภาพและลดความสูญเสียในการผลิต อย่างเป็นระบบ
2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพอย่างเป็นมีรูปแบบ
3. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
4. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ
5. เพื่อสร้างแนวทางให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพยากรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
6. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต
7. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
8. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
หัวข้อการอบรม
1. องค์ประกอบของการผลิต ด้าน ต้นทุน กำไร และรายได้
2. กลยุทธ์ในการผลิตด้านคุณภาพและความรวดเร็วในการผลิตที่พนักงานทุกคนต้องช่วยกัน
3. บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายผลิต
4. หลักการช่างสังเกตและการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาในการทำงานเบื้องต้น
5. หลักการสื่อสารและการเขียนรายงานปัญหา
6. ความหมายและความสำคัญของคำว่า “คุณภาพ”
7. ความหมายของ การควบคุมคุณภาพเชิงพยากรณ์
8. กลยุทธ์ในการดำเนินการ Predictive Operation
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยสภาพอากาศ
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยภาพถ่าย
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
– การออกแบบ Check sheet เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ
– การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กราฟอย่างง่าย
– การควบคุมด้วยสายตา Visual control
Workshop1: การสำรวจเครื่องจักรเพื่อทำระบบ Predictive Operation เบื้องต้นของผู้เข้าอบรม
9. การสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดจิตสำนึกคุณภาพ
10. แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานและสินค้า
Workshop2: การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่ม ในการทำกิจกรรม Predictive Operation นำเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในโรงงานมาทำกรณีศึกษา และนำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
Workshop3: กิจกรรมการแข่งขัน Predictive Operation ด้วยการระดมสมอง
รูปแบบการอบรมสัมมนา
1. การบรรยาย 45 %
2. กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 45%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการอบรม
1. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการทำกิจกรรม TPO อย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ Predictive Operation ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเบื้องต้นด้วยตนเองได้
4. ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น