อบรม หลักสูตร การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
PREDICTIVE MAINTENANCE

ความสำคัญการอบรม
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม วัดประสิทธิผลของการปฏิบัติที่ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่นการวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair) เป็นต้น รวมถึงหลักการซ่อมบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นของผู้ที่อยู่หน้าเครื่องจักร (AM) ทั้ง 8 ด้านที่ควรรู้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรไปพร้อมๆกันเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องต่อไป
เนื่องจากเป็นพื้นฐานที่มีการประยุกต์ใช้ในระบบ ISO 9001 ด้วย ส่วนของ ISO/TS16949 มีส่วนของข้อกำหนดที่เพิ่มเติมตามมาตรฐาน ข้อ 7.5.1.4 พูดถึงกิจกรรมอยู่ 2 ส่วนหลักคือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) และ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) สำหรับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โรงงานหรือองค์กรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกันอยู่แล้วเป็นอย่างดี ในเรื่องของ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) ได้ถูกกำหนดไว้ว่า “องค์กรต้องมีการใช้วิธีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ในการปรับปรุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการผลิต”
การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) คือ “กิจกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจากกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันปัญหาในการบำรุงรักษาโดยการพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการเกิดความล้มเหลว” นั่นหมายความว่าองค์กรต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่นำมาใช้พยากรณ์ว่าเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ในกระบวนการ น่าจะเกิดความล้มเหลว หรือมีอะไรน่าจะเสียได้บ้าง
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จึงเป็นคำตอบที่ดีขององค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเดินเครื่องได้ตลอดเวลาของเครื่องจักรผ่านกิจกรรมการซ่อมบำรุง ที่ในระหว่างการอบรมจะมีแบบฝึกหัด ตัวอย่าง และการระดมสมองของผู้เข้าร่วมการอบรมเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงหลังการอบรม

วัตถุประสงค์การอบรม
1. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
2. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ อย่างเป็นระบบ
3. เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาเชิงทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเครื่องจักร อย่างเป็นมีรูปแบบ
5. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
6. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

หัวข้อการอบรม
1. องค์ประกอบของการผลิต ด้าน ต้นทุน กำไร และรายได้
2. บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายผลิตในสายงานซ่อมบำรุง
3. ความหมายของ TPM และความแตกต่างจากระบบ PM
4. ความสูญเสียหลักทั้ง 6 ประการของเครื่องจักร
5. กลยุทธ์ในการดำเนินการ Predictive Maintenance
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเพื่อการกำหนดลักษณะการบำรุงรักษา
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยคลื่นเสียง
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยความสั่นสะเทือน
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยภาพถ่าย
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยสารหล่อลื่นที่ใช้แล้ว
• การวิเคราะห์เครื่องจักรเชิงพยากรณ์ ด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
Workshop1 : การสำรวจเครื่องจักรเพื่อทำระบบ Predictive Maintenance เบื้องต้นของผู้เข้าอบรม
Workshop2 : นำเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในโรงงานมาทำกรณีศึกษา และนำเสนอผลงาน อภิปรายแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
Workshop3 : กรณีศึกษาของการใช้ระบบ Predictive Maintenance ที่ประสบผลสำเร็จ

รูปแบบการอบรม
1. บรรยาย ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา ให้มีประสบการณ์เพิ่มจากตัวอย่างจริง
2. กิจกรรม ระดมสมอง / แลกเปลี่ยนความคิด
3. Workshop ฝึกปฏิบัติให้นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติจริง
4. สรุปประเด็นเชื่อมโยงสู่งานที่ทำ