อบรมหลักสูตร ออนไลน์สด เทคนิคการอ่านแบบทางวิศวกรรมและการแปลสัญลักษณ์ค่าพิกัดความเผื่อที่ใช้ในการควบคุมมาตรฐานชิ้นงานและมาตรฐานเกลียว  THE ENGINEERING DRAWING AND GEOMETRY DIMENSIONAL AND TOLERANCE (GD&T) TECHNIQUES

กำหนดการ วันจัดอบรม Public Training… คลิก

ความสำคัญ
ในปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขัน และประสิทธิภาพด้านการผลิตได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลายๆองค์กรต่างพัฒนายกระดับคุณภาพของสินค้าของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตรงกับความต้องการและสามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า การควบคุมคุณภาพจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในการที่จะทำให้องค์กรบรรลุถึงความต้องการดังกล่าวข้างต้น การควบคุมคุณภาพจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ขั้นตอนที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานตั้งแต่การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบระหว่างกระบวนการผลิต และสินค้าสำเร็จรูป องค์กรจะต้องมีความเข้าใจในหลักการสำคัญของ GD&T [Geometry Dimensional and Tolerance] ปัจจุบันระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control System) ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านการผลิต จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการแปลสัญลักษณ์ในแบบงาน ที่ใช้ในการควบคุมมาตรฐานชิ้นงาน เพื่อลดความผิดพลาดในการแปลสัญลักษณ์ในแบบงานแล้วนำไปสู่การผลิตชิ้นงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบคุณภาพและกระบวนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิตและมิติ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการทำงาน

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
มีความรู้ความเข้าใจในการอ่านและกำหนดแบบงาน (Drawing) ที่มีการระบบพิกัดความคลาดเคลื่อนของขนาดและรูปร่าง Geometry Dimensional and Tolerance (GD&T) อย่างถูกต้อง

เนื้อหาหลักสูตรอบรม
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบบงานทางวิศวกรรม (Engineering Drawing)
2. การกำหนดขอบเขตความคลาดเคลื่อนทางด้านขนาดของชิ้นงาน
3. สัญลักษณ์ความละเอียดของพื้นผิวชิ้นงาน
4. ความหมายของ GD&T
5. กรอบควบคุม Feature และกฎพื้นฐานของ GD&T
6. สัญลักษณ์ของ GD&T
• ความราบ (Flatness)
• ความตรง (Straightness)
• ความกลม (Roundness)
• ความเป็นทรงกระบอก (Cylindricity)
• ความขนาน (Parallelism)
• ความตั้งฉาก (Perpendicular)
• ความเอียงเป็นมุม (Angularity)
• ตำแหน่ง (Position)
• ร่วมศูนย์ ร่วมแกน (Concentricity)
• สมมาตร (Symmetry)
• Circular Run out
• Total Run out
• ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น (Profile of line)
• ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของระนาบ (Profile of surface)
7. ดาตัม (Datum)
8. สัญลักษณ์ปรุงแต่ง (Modifier)
• ข้อกำหนดของ Envelope
• ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือมากที่สุด (MMC) , ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือน้อยที่สุด (LMC)

ลักษณะการอบรม :
1. บรรยาย ยกตัวอย่าง 
2. Workshop เพื่อให้เข้าใจและการประยุกต์ใช้

ผู้ควรเข้ารับการอบรม
– วิศวกร
– พนักงาน / หัวหน้างาน QC/QA
– พนักงาน / หัวหน้างานฝ่ายผลิต
– ช่างเทคนิค
– บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน และผู้สนใจทั่วไป

สนใจสมัครเข้าร่วมอบรม Public Training… คลิก