หลักสูตรอบรม การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้วย Kaizen
Continue improvement by Kaizen activity
ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมการบริหาร
งานเชิงคุณภาพ อันมีรากฐานกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น และได้รับความนิยมแพร่หลาย กลายเป็นที่รู้จักและสื่อสารกันในระดับสากล การทำไคเซ็น เป็นการสนับสนุนให้เกิดแนวความคิดที่ว่า การทำไคเซ็นไม่ใช่เพิ่มภาระ แต่มุ่งที่จะเลิก/ลด/เปลี่ยน ภาระหรืองานที่ไม่จำเป็น มุ่งไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า ดังนั้น การทำไคเซ็น จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรควรปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความรู้และความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคน ทุกระดับ เรียนรู้วิธีการ ตลอดจนเทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตน ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐาน “ผู้ปฏิบัติงานหน้างาน ย่อมรู้งานของตนเองมากกว่าคนอื่นๆ“ โดยในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ปฏิบัติงานย่อมมีความสะดวกสบายในการทำงานมากยิ่งขึ้นจากการปรับปรุงงานของตนเองตลอดเวลา นั่นเอง
คุณลักษณะของไคเซ็น จะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการ
ปรับปรุงสามารถทาเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้ การทำไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีทัศนคติที่ดี ได้แก่ ต้องละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้ และคิดใหม่ว่า ทุกอย่างสามารถทาได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้น ไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบ เป็นต้น
โดยหลักสูตรนี้ จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุง ขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น แนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น PDCA , QC7 Tools , 5S ฯลฯ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทาไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำ เพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้น หากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิดการดำเนิน งานไคเซ็นอย่างจริงจัง และสามารถผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและ
ทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการอบรม
1. ไคเซ็นคืออะไร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการ
ปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
2. หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น
มาใช้ในองค์กรรวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน
3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่อง
มือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
4. เทคนิคในการมองปัญหา
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาในการจัดทำ
การปรับปรุงงานและสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหา
แนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
5. เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหา
โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม
6. กรณีศึกษา
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและ
แนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 30 %