หลักสูตรอบรม เทคนิคการปฏิบัติงานคลังสินค้าและการควบคุมสินค้าคงคลังสู่ประสิทธิภาพสูงสุด


รายละเอียดหลักสูตรอบรม Course Outline

ความสำคัญ
การควบคุมและจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory) มีบทบาทสำคัญและถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจของทุกองค์กร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งและเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของทุกบริษัทฯที่พึงมีไว้เพื่อให้การผลิตหรือการขายให้สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากที่สุดโดยไม่ติดขัดและรักษาโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด แต่หากภายใต้กระแสการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน การบริหารจัดการควบคู่ไปกับการซื้อ (Purchasing) นั้นอย่างมีหลักเกณฑ์จะช่วยในการรักษาระดับสินค้าคงคลังไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป เพราะเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงโดยตรงกับต้นทุนต่อหน่วยของกิจการได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory) และจัดการคลังสินค้า (Warehouse) ที่มีประสิทธิภาพนั้นคือ การวางแผนตั้งแต่การซื้อ การออกแบบระบบจัดเก็บและเลือกอุปกรณ์ในคลังสินค้าที่เหมาะสมด้วยหลักสูตรนี้จะถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จสามารถต่อสู้คู่แข่งขันได้ และถือเป็นเคล็ดลับองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบในด้านการบริหารและจัดการสินค้าคงคลังจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์การอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับบริหารจัดการงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้าไปประยุกต์ใช้งานในการปรับปรุงพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และเทคนิคจากการจัดการเชิงกลยุทธ์ มาปรับปรุงการทำงานให้เกิดความสอดคล้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวของได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีเทคนิคตอบสนองต่อคำสั่งซื้อที่ไม่แน่นอน ด้วยแนวคิดการออกแบบการจัดซื้อ ที่เล็กลงและมีระยะเวลาส่งมอบที่สั้นลงการควบคุมและระบบการเบิกจ่ายสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมมีทัศนคติที่ดีและมองเห็นประโยชน์ในการนำมาบริหารและจัดการคลังสินค้ามากขึ้น

หัวข้อการอบรม
– บทบาทและความสำคัญของการจัดการคลังสินค้าในโลกแห่งการแข่งขัน (Industry 4.0 ) และทำไมต้องมีคลังสินค้า ?
– ทำไมต้องมีสินค้าคงคลัง ? และความสำคัญของการจัดการสินค้าคงคลัง
– บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานคลังสินค้าสมัยใหม่
– ปัญหาและต้นทุนประเภทต่างๆ ของสินค้าคงคลัง ที่พบในการปฏิบัติงานคลังสินค้า
– ดัชนีชี้การวัดประสิทธิภาพ (KPIs) ในการจัดการสินค้าคงคลัง
– ปัญหาและต้นทุนประเภทต่างๆ ที่พบในการปฏิบัติงานคลังสินค้า
– แนวคิดความสูญเปล่าจากการเก็บสินค้าคงคลัง (Unnecessary Stock) ที่มากเกินไปในกระบวนการผลิต
• การค้นหาปัญหาและสาเหตุ
• การวิเคราะห์ถึงปัญหาและสาเหตุ
• แนวทางและการปรับปรุงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
– กลยุทธ์และการตัดสินใจในการสั่งซื้อเพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลัง
• การวิเคราะห์และจัดการสินค้าคงคลังด้วยหลัก ABC Analysis
• การบริหารคลังสินค้าด้วยแนวคิด Stock Keeping Units (SKUs)
• เทคนิคกำหนดปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด (Economic Order Quantity ; EOQ)
• วิธีการกำหนดรอบการสั่งซื้อ (Lead Time) และจุดสั่งซื้อเพิ่ม (Re-Order Point ; ROP)
• วิธีการสั่งซื้อบนเงื่อนไขและกำหนดแบบมีส่วนลด (Quantity Discounts)
• การกำหนด Safety Stock และการเติมสินค้า (Replenishment) ให้ทันท่วงที (Just In Time)
– หลักการของการออกรูปแบบการวางและระบบการขนย้ายสินค้าคงคลัง (Materials Handling System) ในคลังสินค้า
– การป้องกันความผิดพลาดจากการหยิบสินค้า (Error Picking) และการเติมสินค้า (Replenishment) ในคลังสินค้า
– บทบาทหน้าที่ความสำคัญของ Warehouse และศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Centers; DC)
– ความจำเป็นในการปรับข้อมูลสินค้าคงคลัง (Inventory Adjustment)
– การจัดการข้อมูลสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์
– ระบบอัตโนมัติและและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการคลังสินค้า
– เทคนิคการแก้ไขปัญหาในคลังสินค้าเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
– ปัจจัยและความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าคงคลัง, คลังสินค้า, ระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
– สรุปการเรียนรู้และถามตอบ

วิธีการฝึกอบรม
ทฤษฏี 40% เชิงปฏิบัติการ 60%
– การบรรยาย-สาธิตเนื้อหาและทฤษฎี รวมทั้งชมภาพและวีดีทัศน์ประกอบ
– ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติ
– กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่ม (Workshop)