หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ผลกระทบและการจัดการความเสี่ยง (FMEA & Risk management)”

ความสำคัญ
กระบวนการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันปัญหาความล้มเหลวในส่วนของขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุมกระบวนการสำหรับผลิตภัณฑ์ เนื้อหาในหลักสูตรของ FMEA จะช่วยให้องค์กรมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการเตรียมการเพื่อวิเคราะห์ความพร่องและผลกระทบอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุมกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม
1. เพื่อให้เข้าใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการของการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ
2. เพื่อให้เข้าใจและทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานในการจัดทำ Design and/or Process FMEA
3. เพื่อให้เข้าใจ Process –FMEA ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดข้อบกพร่อง
4. เพื่อให้มีความเข้าใจในขั้นตอนของการวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบตามคู่มือมาตรฐานฉบับใหม่
5. สามารถจัดทำ Process –FMEA ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดส่งมอบสู่ลูกค้า
6. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง ( Risk Assessment ) ใช้ในการค้นหาอันตรายในการทำงาน
7. เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและเสริมงานด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดความเสี่ยงและ
ขจัดความสูญเสีย

หัวข้อการอบรม
• ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ FMEA
• วัตถุประสงค์ของ FMEA
• ความหมายหมายของ FMEA
• ประเภทของ FMEA
• การประยุกต์ใช้ FMEA
• คำศัพท์/นิยาม/หลักการของ FMEA
• ภาพรวมการวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการ
• แนวคิดและเทคนิคของ Design FMEA และวิธีการนำไปใช้กับขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์
• รวมถึงตัวอย่างคำแนะนำในการนำ Design FMEA ไปใช้ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ
• แนวคิดและเทคนิคของ Process FMEA และวิธีการนำไปใช้กับขันตอนการออกแบบกระบวนการ
• ผลิตภัณฑ์รวมถึงตัวอย่างคำแนะนำในการนำ Process FMEA ไปใช้ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ
• เกณฑ์การประเมินและให้คะแนนของค่าความรุนแรง โอกาสเกิดและการตรวจจับตามคู่มือ FMEA ฉบับใหม่
• แนวคิดการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการชี้บ่งอันตราย
• เทคนิคในการประเมินความเสี่ยง วิธี HAZOP, Check List , What if , FTA , FMEA , JSA
• แนวทางในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ

ลักษณะการอบรม :
• การบรรยาย 40 %
• กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
• การแบ่งปันการเรียนรู้ร่วมกัน + การแข่งขันกระตุ้นผลงาน 20 %