อบรม หลักสูตร “หลักการเขียนและการอ่านแบบวิศวกรรมที่ถูกต้อง ENGINEERING DRAWING FUNDAMENTAL”
ดูวันจัดอบรม Public Training หลักสูตรด้านการอ่านแบบวิศวกรรม..Click
ความสำคัญการอบรม
ปัจจุบันแบบงานมีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่การออกแบบ การทำดรออิ้ง การผลิต และการตรวจสอบชิ้นงาน ซึ่งรายละเอียดในแบบ มีการกำหนดคุณลักษณะต่างๆ เพื่อสื่อสารให้ผู้ผลิต ได้ผลิตชิ้นงานถูกต้องตามสเปค และวัตถุประสงค์ของการนำชิ้นงานนั้นไปใช้ ในกระบวนการถัดไป ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องการความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการอ่านแบบวิศวกรรม เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานของงานวิศวกรรม
วัตถุประสงค์อบรม
มีความรู้ความเข้าใจ สามารถมองภาพ 3 มิติ และภาพฉาย 2 มิติ ของชิ้นงานได้ อธิบายการวางภาพในแบบ งาน Drawing ตามมาตรฐาน ISO, DIN, ANSI, JIS และ TIS ได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนด ขนาดเพื่อบ่งบอกรูปร่างของชิ้นงานเบื้องต้นได้
หัวข้อการอบรม
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบบงานทาง วิศวกรรมและ ความสำคัญทางอุตสาหกรรม
• การเขียนแบบวิศวกรรมกับภาษารูปภาพ (Graphics language)
• องค์ประกอบของการเขียนแบบวิศวกรรม (Elements of engineering drawing)
• วิธีการฉายภาพ (Projection method)
• มาตราฐานการเขียนแบบ (Drawing standard)
• มาตรฐานเกี่ยวกับสเกล (Drawing scale)
• มาตราฐานเกี่ยวกับชนิดของเส้น (Line type)
• อุปกรณ์การเขียนแบบ (Engineering drawing tools)
2. รูปแบบของแบบงาน Drawing ตาม มาตรฐาน ISO, DIN,ANSI, JIS, TIS
3. ประเภทของเส้นและการประยุกต์ใช้
• ลักษณะของเส้นต่างๆ ในงานเขียนแบบ
• ชนิดของเส้นและลักษณะการใช้งาน
4. การวาดรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน
• การเขียนภาพสามมิติ (Pictorial Drawing)
ภาพแอกซ์โซโนเมตริก (Axonometric)
ภาพออบบลิค (Oblique)
• การเขียนแบบภาพไอโซเมตริก (Isometric Drawing)
5. วิธีการฉายภาพของแต่ละมาตรฐาน
• การเลือกมุมมองวัตถุ
• ภาพฉายมุมที่ 1 (First angle projection) , ภาพฉายมุมที่ 3 (Third angle projection)
• ภาพช่วย (Auxiliary view)
• ความสัมพันธ์เรื่องสัดส่วนและรูปทรงของภาพฉาย
6. ภาพตัด (Section Views)
• แนวคิดในการสร้างภาพตัด
• คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการเขียนภาพตัดและการใช้งาน
• ชนิดของภาพตัด
Full section
Offset section
Half section
Broken-out section
Revolved section
Removed section
• การเขียนภาพตัดสำหรับ rib, web, spoke และ lug
7. การกำหนดขนาดเบื้องต้น
• หลักในการกำหนดขนาดในแบบงาน
• องค์ประกอบในการกำหนดขนาดแบบงาน
• กฎเกณฑ์และมาตรฐานในการกำหนดขนาด
• การสัมผัสและการตัดกันของพื้นผิว
• ข้อควรระวังในการกำหนดขนาด
รูปแบบการอบรม
• การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 40 % ปฏิบัติ 60 %
• ฝึกปฏิบัติจาก Workshop ให้นำไปประยุกต์สู่การการทำงานได้จริง