หลักสูตรอบรม การทำสัญญาจ้างแบบเจาะลึกทุกประเภทการจ้าง

ความสำคัญ
สัญญาจ้าง ถือเป็นเอกสารสำคัญที่ระบุเงื่อนไขในการจ้างงานซึ่งบริษัทในฐานะนายจ้าง ได้ตกลงเป็นการเฉพาะไว้แก่พนักงานในฐานะลูกจ้าง ถือป็นสภาพการจ้างที่ทั้งสองฝ่ายผูกพันต้องปฏิบัติต่อกัน ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ดังนั้น สัญญาจ้างรวมถึงเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน จึงเป็นเอกสารที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องต่อกฎหมาย และไม่ก่อให้เกิดความเสียเปรียบเมื่อต้องใช้ในขั้นตอนการใช้หรือ โต้แย้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ และปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และได้เห็นหลากหลายมุมมอง สามารถร่างข้อตกลงสัญญาจ้างและตรวจร่างสัญญาจ้าง ระบุเงื่อนไขที่สำคัญ และเงื่อนไขที่จำเป็นในสัญญาได้ สามารถนำกลับไปพัฒนาปรับปรุงสัญญาจ้างที่ใช้อยู่ภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

วัตถุประสงค์การอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ของหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจขององค์กร และสามารถออกแบบ จัดทำสัญญาจ้าง ข้อกำหนด ในการบริหารธุรกิจได้สอดคล้องตามกฎหมาย
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคในการจัดทำสัญญาจ้าง ข้อกำหนดต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม
1. สัญญาจ้างแรงงาน คืออะไร
• ความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน
• สัญญาจ้างต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ หรือทำด้วยวาจา
• ค่าตกใจมีทางออกหรือไม่ที่นายจ้างไม่ต้องจ่าย
• ปัญหาที่มักพบจากการทำสัญญาจ้างไม่รัดกุม
2. จุดอ่อนในสัญญาจ้างแรงงานที่ทำให้นายจ้างแพ้คดี
3. ควรระบุอะไรไว้ในสัญญาจ้างแรงงานบ้าง
4. ในสัญญาจ้างถ้าเขียนว่า “ค่าจ้าง” จะมีผลเสียหายอย่างมหาศาลขนาดไหน หากนายจ้างไม่รู้ตัว
5. หลักการเขียนสัญญาจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายในทางปฏิบัติ
6. ประเภทของสัญญาจ้างต่าง ๆ
• สัญญาจ้างชั่วคราว
• สัญญาจ้างพนักงานรายเดือน หรือรายปี
• สัญญาจ้างแบบ Part-time
• สัญญาจ้างงานแบบการส่งไปประจำอีกบริษัท Outsource
• สัญญาจ้างแบบรายวัน หรือรายชั่วโมง
• สัญญาจ้างแบบรับเหมา
• สัญญาจ้างแบบกึ่งพนักงานประจำ
7. การฟ้องร้องบังคับชดใช้ค่าเสียหายกรณีลูกจ้างผิดสัญญา
8. กรณีควบรวมกิจการ/การโอนกิจการนายจ้างใหม่
• การควบรวมกิจการ ลูกจ้างของกิจการที่ควบรวม มีผลอย่างไร
• ต้องรับสิทธิ และหน้าที่ของกิจการที่ควบรวมที่มีต่อลูกจ้างด้วยหรือไม่อย่างไร
• การโอนโดยกิจการของนายจ้างไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามสภาพการจ้างของนายจ้างใหม่ด้วยหรือไม่
• กรณีลูกจ้างยอมทำงานให้ผู้รับโอนกิจการ ถือว่าผู้รับโอนกิจการเป็นนายจ้างหรือไม่
9. คําพิพากษาฎีกา ที่ 22326-22404/2555 การจ้าง Outsource กรณีเหมาค่าแรง มาตรา11/1

รูปแบบการอบรม
• บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเชิงลึก พร้อมตัวอย่าง /กรณีศึกษา
• ฝึกปฏิบัติจาก Workshop ให้นำไปประยุกต์สู่การทำงานจริง การปฏิบัติได้จริง