อบรมหลักสูตร เทคนิคการติดต่อประสานงานและการรายงานผลที่มีประสิทธิภาพ

รายละเอียดหลักสูตรอบรม Course Outline

การทำงานในองค์กรทุกวันนี้ ทักษะพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นมาก ก็คือ ทักษะการประสานงาน ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ในความเป็นจริง กลับพบว่า หลายๆองค์กรเกิดปัญหาในการทำงาน โดยมีสาเหตุมาจาก “การประสานงาน” และส่งผลกระทบอื่นๆอีกมากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้ง การไม่ยอมรับ การไม่ให้ความร่วมมือ เป็นต้น และนอกจากจะมีทักษะการประสานงานที่ดีแล้ว จำเป็นจะต้องรู้จักการใช้จิตวิทยาเข้าไปเป็นส่วนผสมผสานในการประสานงานด้วย เพราะจิตวิทยาในการประสานงาน คือ จุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยนไปสู่ความสำเร็จในการทำงานร่วมกันในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การทำงานร่วมกันนั้นราบรื่น และได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจร่วมกันนั่นเอง หลักสูตรอบรมนี้นอกจากจะมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีหลักการ ทักษะ และจิตวิทยาในการประสานงานที่ดีกับทุกระดับที่ต้องทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลแล้ว ยังมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้หลักการและเทคนิคในการจัดทำและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา(ผู้รับรายงาน)ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

เนื้อหาการฝึกอบรม
1. เทคนิคการมีส่วนร่วมของคน ในการทำงานร่วมกัน
– การเป็นเจ้าภาพในงาน
– การแบ่งปันความรู้สึกร่วมกันในเป้าหมายของงาน
2. การสื่อสารเพื่อการประสานงานที่สัมฤทธิ์ผล
– การขอความช่วยเหลือ
– การขอความร่วมมือ
– การขอความคิดเห็น
– การรายงานผลความคืบหน้าของงาน
– การแจ้งให้ทราบ
– การขอคำปรึกษาหารือ
3. หลักการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
– การสร้างความคุ้นเคย
– การแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง
– ตัวตนและกรอบความคิดของปัจเจกบุคคล
– การให้และรับอย่างมีเงื่อนไขทางจิตวิทยา
4. การประสานงานภายในและภายนอกองค์กรอย่างมืออาชีพ
– ความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
– การทำงานร่วมกันด้วยความรัก
– ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้วยความเสียสละ
– การทำงานแบบใจประสานใจ
– การปฏิบัติต่อผู้อื่น และ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ในการประสานงาน
– วิธีประสานความร่วมมือ
5. ปัญหาและอุปสรรคในการประสานงาน และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการประสานงาน
– การขาดประชุม
– การไม่รับผิดชอบต่องานที่ได้รับปากไว้
– การไม่ให้ความร่วมมือ
– การจัดการกับความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
– การแก้ไขความขัดแย้งในการทำงาน
6. หลักการและเทคนิคการจัดทำรายงานผล
– ความสำคัญของรายงานต่อผู้บังคับบัญชา /ผู้บริหาร (ผู้รับรายงาน) ที่ผู้ทำรายงานต้องเข้าใจ
– ลักษณะของรายงานที่เป็นข้อมูลดิบ และรายงานที่ “ปรุง” แล้วและเป็นรายงานเชิง MIS
– ประเด็นต่างๆ ที่ผู้บริหาร (ผู้รับรายงาน) ต้องการทราบ
– ลักษณะรายงานที่ดีทั้งเรื่อง เนื้อหา (Content) รูปแบบการนำเสนอ (Report Presentation)และการจัดทำข้อเสนอแนะ (Recommendation)
– หลักการออกแบบฟอร์มและการควบคุมแบบฟอร์ม หากต้องใช้ในการจัดทำรายงาน
– การจัดทำรายงานในกรณีที่จะใช้รายงานเพื่อประกอบการนำเสนอ (Presentation)
– เทคนิคการจัดทำสื่อในการนำเสนอข้อมูล

รูปแบบการอบรม
1. บรรยาย ชวนคุย กรณีศึกษา ชมวีดีทัศน์
2. ละลายพฤติกรรม / ระดมสมอง / แลกเปลี่ยนความคิด
3. กิจกรรม workshop / การนำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติจริง
4. สรุปประเด็นเชื่อมโยงสู่งานที่ทำ